วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กฎหมายที่เกี่ยวกับปืน BB Gun

ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะว่า ปัจจุบันมีผู้นิยมเล่นปืน BB กันอย่างแพร่หลาย ในบอร์ด DGO เราก็มีผู้สนใจอยู่ไม่น้อย จำนวนนักเล่น BB ซึ่งเป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนาน และความท้าท้ายนี้ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับผู้ที่เล่นกีฬา BB Gun อยู่ ก็อาจจะรู้สึกสงสัยว่า การเล่นกีฬาชนิดนี้นั้น ผู้เล่นจำเป็นต้องมีใบอนุญาตให้มี และใช้ปืน BB ด้วยหรือไม่ นอกจากนี้แล้ว การไปเล่นกีฬา BB ที่สนามในแต่ละครั้งนั้น ผู้เล่นแต่ละคนย่อมจำเป็นจะต้องเดินทางโดยมีปืน BB ติดตัวไปด้วย อย่างน้อยก็คนละ 1-2 กระบอก ซึ่งการพกพาปืน BB ติดไว้ในรถยนต์ขณะเดินทางไปยังสนาม BB อาจทำให้ผู้เล่นบางท่านรู้สึกไม่สบายใจ ว่าหากพบเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกให้หยุดรถ เพื่อตรวจค้น จะต้องทำอย่างไร และการพกพาปืน BB ติดตัวไปในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เพราะปืน BB นั้น หากมองเพียงรูปลักษณ์ภายนอกเพียงอย่างเดียวแล้วละก็ แทบจะมีลักษณะ ไม่ผิดไปจาก อาวุธปืนจริง ๆ เลยดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย ที่มักจะสร้างความค้างคาใจให้กับเจ้าของปืน BB ส่วนใหญ่จึงมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ 1. การมีปืน BB ไว้ในครอบครองต้องมีใบอนุญาตให้มี และใช้ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 หรือไม่ และ 2. การพกพาปืน BB เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ หรือไม่ และ 3. เราควรปฏิบัติอย่างไรในการพกพาปืน BB ไปยังสนาม BB เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น ถ้ามาถามว่า BB Gun ถือเป็นอาวุธปืนไหม ทางกองพิสูจน์หลักฐานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ทำ การพิสูจน์ และวินิจฉัยแล้วว่า ปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน แต่เป็น "สิ่งเทียมอาวุธปืน" ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 โดยกฎหมายดังกล่าว ได้ให้ความหมายของคำว่า "สิ่งเทียมอาวุธปืน" หมายความถึง สิ่งซี่งมีรูปและลักษณะอ้นน่าจะทำให้หลงเชื่อว่า เป็นอาวุธปืน จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า สิ่งใดก็ตามที่มีรูปและลักษณะ อันทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน จะเป็นเพียง "สิ่งเทียมอาวุธปืน" ไม่ใช่ "อาวุธปืน" และจากคำนิยามดังกล่าว ลำพังชิ้นส่วนของปืน BB ก็ไม่ใช่อาวุธปืน เพราะชิ้นส่วนของปืน BB ไม่อาจทำให้ผู้ที่พบเห็นหลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน ซึ่งคำนิยามของคำว่า "สิ่งเทียมอาวุธปืน" จะแตกต่างจากนิยามของคำว่า "อาวุธปืน" ที่กฎหมายให้ความ หมายรวมถึงว่า เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ก็ให้ถือเป็นอาวุธปืนด้วย เมื่อปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน แต่เป็นเพียง "สิ่งเทียมอาวุธปืน" การมีปืน BB ไว้ในครอบครอง จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่? การมีปืน BB ซึ่งเป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในครอบครองนั้น ไม่มีความผิด และ ไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่อย่างใด เนื่องจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่มีสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง ได้ ต้องมีใบอนุญาต ให้มีสิ่งเทียมอาวุธปืน ไว้ในความครอบครองก่อน ซึ่งแตกต่างจาก เรื่องอาวุธปืน ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ที่มีอาวุธปืน ไว้ในครอบครอง จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน การพกพาปืน BB ติดต้วไปในสถานที่ที่บอกไปอะ มันก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เช่นกัน เนื่องจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้บัญญัติกำหนดว่า ผู้ที่พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน ไปในสถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีใบอนุญาตให้พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น ๆ ก่อน ซึ่งแตกต่าง จากการพกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในที่สาธารณะ ซึ่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กำหนดให้ผู้ที่พกพาอาวุธปืนติดตัวไปนั้น จะต้องได้รับใบอนุญาตให้พกพาอาวุธป ืนกระบอกนั้น ๆ ไปในที่สาธารณะได้ แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าการพกพาปืน BB ติดตัวไปในที่สาธารณะโดยเปิดเผย จะไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งมีโทษร้ายแรงถึงจำคุก แต่ก็มิใช่ว่าผู้เล่นปืน BB จะสามารถเดินถือปืน BB ไปในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยได้ เนื่องจากปืน BB นั้น มีลักษณะที่เรียกได้ว่า แทบจะไม่แตกต่างไปจากอาวุธปืนของจริงเลยทีเดียว ผู้ที่พบเห็นย่อมเข้าใจผิด คิดว่าปืน BB เป็นอาวุธปืนได้ นอกจากนี้ ด้วยคุณลักษณะของปืน BB แม้จะไม่ใช่อาวุธปืน แต่ปืน BB ก็ยังอาจจะถูกนำมาใช้เป็นอาวุธได้ ดังนั้น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 จึงกำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดก็ตาม พาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผย หรือไม่มีเหตุอันควร ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น ควรปฏิบัติอย่างไรในการขนย้ายปืน BB และอุปกรณ์ในการเล่น BB Gun เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น ผู้มีปืน BB ไว้ในครอบครอง จึงควรใช้ ความระมัดระวัง และปฏิบัติต่อปืน BB ในการพกพา และขนย้าย เฉกเช่นเดียวกับ ที่พึงปฏิบัติต่ออาวุธปืน กล่าวคือ ไม่พกพาปืน BB อย่างเปิดเผย (พกพาในลักษณะที่ ผู้อื่นสามารถ เห็นได้ ไม่ว่าโดยง่ายหรือต้องสังเกต) ไปในที่ สาธารณะ และเมื่อทำการขนย้าย ก็ควรเก็บปืน BB และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้เล่น BB Gun ไว้ใน ที่เก็บสิ่งของ ท้ายรถยนต์ โดยควรมีกระเป๋าใส่ปืน BB แยกต่างหากจากกระเป๋าใส่ที่บรรจุกระสุน (แม็กกาซีนปืน) และอุปกรณ์อื่น ๆ ข้อกฎหมายอ้างอิง มาตรา 4 "อาวุธปืน" หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิด ซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊ส หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และ ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ และได้ระบุไว้ ในกฎกระทรวง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2490)) ปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืนตาม มาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (โดยความเห็น จากการพิสูจน์ โดยกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งบทบัญญัติในมาตรา 4(1) ระบุไว้ อย่างชัดเจน ดังนี้ มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ เนื่องจากปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน การซื้อ (ไม่รวมถึงการนำเข้า) มี และใช้ปืน BB ไม่ต้อง ขออนุญาต ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอาวุปืนฯ มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัว เมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด เนื่องจากปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน การพกพา และขนย้ายปืน BB โดยมิดชิด และ ไม่เปิดเผยไปในยานพาหนะ หรือ กับตัวผู้ขนย้าย ไม่เป็น ความผิด ตามมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ผลกระทบในด้านกฏหมายอาวุธปืน ด้วยความที่ Air Soft Gun มีรูปร่างลักษณะที่ลอกเลียนแบบเหมือนอาวุธจริงแทบทุกประการ จึงทำให้เมื่อดูในระยะไกลแทบจะแยกจากของจริงไม่ออก และหากผู้ใช้ขาดความระมัดระวังในการเล่นนำไปถือในที่สาธารณะ และมีผู้พบเห็นแจ้งความจนกระทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาจับกุมเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาวุธปืนจริง ทำให้มีการจับกุมด้วยการใช้กำลังอาวุธ กระทั้งผู้ที่ถือปืนของเล่นเหล่านั้นถึงแก่ชีวิต เมื่อเกิดปัญหาทางข้อกฏหมาย จึงมีการออกข้อบทบัญญัติควบคุมให้บรรดาปืนอัดลมเบาที่นำเข้า จากประเทศญี่ปุ่นจะต้องป้ายแถบสี หรือทำเครื่องหมาย ที่ไม่สามารถลบเลือน ด้วยการเคลือบสีส้มสะท้อนแสงไว้ที่ปากกระบอกปืน ของเล่นเหล่านั้น ก่อนที่จะนำเข้ามาจำหน่าย ถึงกระนั้นก็ใช่ว่า Air Soft Gun ที่มีความเหมือนจริงเหล่านั้น จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ด้วยความที่มันมีความเหมือนจริง และไม่ก่อให้เกิดอันตรายในขณะเล่น Air Soft Gun จึงได้รับการคัดเลือก นำไปใช้ในหน่วยงานทางทหาร และตำรวจเพื่อใช้ฝึกซ้อมทางยุทธวิธีต่าง ๆ เช่น การเข้าปะทะ การซ้อมรบจู่โจมและจับกุมโดย ไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ กับผู้ที่เข้ารับการฝึก อันเนื่องมาจากแรงปะทะของกระสุนที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกเหล่านี้นี่เอง

"อาวุธ คือ หมายความรวมถึงสิ่งที่ไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ ถามต่อไปว่า ปืนอัดลม bb gun ดังที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้ยกขึ้นอ้างแล้วเป็นเบื้องต้นนั้น สามารถใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงสาหัสหรือไม่ ?" จากคำกล่าวข้างต้น ด้วยความเคารพ อธิบายว่า อาวุธตามที่เข้าใจนั้นเป็นบทนิยามทั่วไปของคำว่า "อาวุธ"ตาม ป.อ.1(5) ซึ่งนั่นก็หมายถึง "อาวุธปืน"ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนด้วย ฉะนั้น เมื่อใดที่มี กม.บัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างเช่น พ.ร.บ.อาวุธปืน ก็ให้ไปใช้ตาม กม.ที่บัญญัติไว้เฉพาะ ตามกรณีที่กล่าวนั้นคาดว่าเข้าใจผิด...มาตรา ๓ ให้ยกเลิก(พ.ร.บ.อาวุธปืน)ว.2และบรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ กล่าวคือ หากจะตีความคำว่า "อาวุธ" ตาม ป.อ.1(5) เทียบกับ พ.ร.บ.อาวุธปืน นั้น พ.ร.บ.อาวุธปืน นั้น กม.บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าอาวุธปืน กม.เขาว่าต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน บัญญัติไว้ ส่วน "อาวุธ"ตาม ป.อ.1(5) นั้น เป็นบทนิยามทั่วไป ซึ่งมิได้หมายถึงแต่เฉพาะ อาวุธปืน เท่านั้น (ให้ดูคำว่า "อาวุธ"กับ"อาวุธปืน" ซึ่งมีความแตกต่างกันนะ ให้สังเกตุด้วย)จากคำกล่าวที่ว่า "ถามต่อไปว่า ปืนอัดลม bb gun ดังที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้ยกขึ้นอ้างแล้วเป็นเบื้องต้นนั้น สามารถใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงสาหัสหรือไม่ ?" ดั่งที่กล่าวแล้วว่า "อันตรายสาหัส"ให้ไปดูความหมายใน ป.อ.297 ซึ่งมีอยู่ 8 อนุมาตรา หากเข้าอนุมาตราหนึ่งมาตราใดก็คือเป็นอันตรายสาหัส ตามความหมายของ กม. ยกตัวอย่างเช่น (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท(เสียฆานประสาทคือเสียความสามารถในการดมกลิ่น) ดังนั้น ในบางกรณีหากไม่ผิดตาม ป.อ.1(5)ซึ่งเป็นบททั่วไป ก็ต้องไปวินิจฉัยว่าผิดตาม กม.เฉพาะตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน หรือไม่ ดังนั้น ด้วยความเคารพจากคำกล่าวข้างต้นจึงไม่ค่อยจะถูกนัก จากคำกล่าวที่ว่า"หากเมื่อได้ความสรุปแล้วว่าไม่ถึงสาหัส จึงน่าจะไม่ใช่ความหมายของคำว่าอาวุธตามมาตรา 371 หากมีการพกพาไป แม้จะเปิดเผย ไม่มีเหตุอันสมควรจะผิดได้อย่างไร เพราะการตีความกฎหมายคงต้องตีความตาม ป.อ.มาตรา 2 โดยเคร่งครัด" อธิบายว่า อาวุธตาม ป.อ.371 นั้นเขาหมายถึงแปลความตาม ป.อ.1(5)กล่าวคืออาวุธโดยตัวของมันเองคืออาวุธโดยสภาพการเป็นอาวุธ เช่น ปืน ดาบ หอก แหลน หลาว และให้หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพของตัวมันเองแต่ได้ใช้ทำร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ(โดยสภาพ)หรือเจตนาจะใช้ทำร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ (อันตรายสาหัสดู ป.อ.297)ดังนั้น ซึ่งพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะตาม ป.อ.371 กม.เขาหมายความว่าอาวุธโดยสภาพ (ไม่รวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ กล่าวคือ เพราะสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพจะเป็นอาวุธตาม ป.อ.1(5)ก็ต่อเมื่อได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ทำร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ) ดังนั้น ตาม ป.อ.371จึงหมายถึงเฉพาะอาวุธโดยสภาพเท่านั้นแต่ถ้าจะให้รวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพของสิ่งนั้น ก็ต้องใช้สิ่งนั้นหรือเจตนาจะใช้สิ่งนั้นทำร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ สิ่งนั้นจึงต้องด้วยเจตนารมณ์ตาม ป.อ.371 "เมื่อปืน BB ไม่ใช่อาวุธปืน แต่เป็นเพียง "สิ่งเทียมอาวุธปืน" การมีปืน BB ไว้ในครอบครอง จะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?การมีปืน BB ซึ่งเป็นเพียงสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในครอบครองนั้น ไม่มีความผิด และ ไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แต่อย่างใด เนื่องจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่มีสิ่งเทียมอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง ได้ ต้องมีใบอนุญาต ให้มีสิ่งเทียมอาวุธปืน ไว้ในความครอบครองก่อน ซึ่งแตกต่างจาก เรื่องอาวุธปืน ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ที่มีอาวุธปืน ไว้ในครอบครอง จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนการพกพาปืน BB ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ มีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?การพกพาปืน BB ติดต้วไปในสถานที่ดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เช่นกัน เนื่องจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่ได้บัญญัติกำหนดว่า ผู้ที่พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืน ไปในสถานที่ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีใบอนุญาตให้พกพาสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น ๆ ก่อน ซึ่งแตกต่าง จากการพกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในที่สาธารณะ ซึ่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กำหนดให้ผู้ที่พกพาอาวุธปืนติดตัวไปนั้นจะต้องได้รับใบอนุญาตให้พกพาอาวุธป ืนกระบอกนั้น ๆ ไปในที่สาธารณะได้ แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าการพกพาปืน BB ติดตัวไปในที่สาธารณะโดยเปิดเผย จะไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งมีโทษร้ายแรงถึงจำคุก แต่ก็มิใช่ว่าผู้เล่นปืน BB จะสามารถเดินถือปืน BB ไปในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยได้ เนื่องจากปืน BB นั้น มีลักษณะที่เรียกได้ว่า แทบจะไม่แตกต่างไปจากอาวุธปืนของจริงเลยทีเดียว ผู้ที่พบเห็นย่อมเข้าใจผิด คิดว่าปืน BB เป็นอาวุธปืนได้ นอกจากนี้ ด้วยคุณลักษณะของปืน BB แม้จะไม่ใช่อาวุธปืน แต่ปืน BB ก็ยังอาจจะถูกนำมาใช้เป็นอาวุธได้ ดังนั้น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 จึงกำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดก็ตาม พาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผย หรือไม่มีเหตุอันควร ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น" จากคำล่าวข้างต้น ด้วยความเคารพเช่นกัน ก่อนที่จะแปลความ ว่า "bb gun" เป็น "อาวุธปืน"หรือ"สิ่งเทียมอาวุธปืน"ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน นั้น นิยามคำว่า "อาวุธปืน" กม.เขาให้นิยามว่า" “อาวุธปืน” หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใดซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง" ดังนี้ จึงแปลความได้ว่า จะเป็นอาวุธปืนได้ สิ่งนั้นต้องใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิด หรือ กำลังดันของแก๊ส หรือ อัดลม หรือ เครื่องกลไกอย่างใดซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ(คำว่า"ของอาวุธนั้นๆ"ดูตาม ป.อ.1(5))ดังนั้น หาก "bb gun" มีลักษณะของการทำงานโดย 1.ใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิด หรือ 2.กำลังดันของแก๊ส หรือ 3.อัดลม หรือ 4.เครื่องกลไกอย่างใดซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ หากเข้าลักษณะของการทำงานโดยกลไกอย่างหนึ่งอย่างใด "bb gun" ก็ย่อมต้องด้วย นิยามตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ส่วนสิ่งเทียมอาวุธปืน ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน นั้น สิ่งๆนั้นมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน แต่มิได้มีการทำงานของกลไกอย่างอาวุธปืน เขาจึงเรียกว่าสิ่งเทียมอาวุธปืน แต่หากสิ่งของอันใดอันมีลักษณะกลไกทำงานอย่างอาวุธปืน สิ่งนั้นย่อมถือว่าเป็นอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนได้ เมื่อต้องด้วย พ.ร.บ.อาวุธปืน ก็ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ กม.บัญญัติ (ด้วยความเคารพ)ขอบคุณ...

คำว่า วัสดุ ความหมายของวัสดุ

1. วัสดุ หมายถึง สิ่งของ ของใช้ที่ใช้ในเวลาสั้นๆ สิ่งของที่ใช้หมดไปหรือใช้แล้วกลายรูปเป็นสิ่งอื่น เช่น เครื่องใช้อย่าง กระดาษ เครื่องเขียน เครื่องพิมพ์ เช่น วัสดุสำนักงาน ปูนซีเมนต์ หิน อิฐ ซึ่งใช้สร้างอาคารบ้านเรือน เรียกว่า วัสดุก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างที่สามารถทนไฟได้ เรียกว่า วัสดุทนไฟ ในโรงพยาบาลมีงบประมาณซื้อวัสดุสิ้นเปลืองเป็นจำนวนมาก การเก็บรักษาและขนย้ายวัสดุไวไฟต้องทำอย่างรอบคอบ
โดย กาญจนา นาคสกุล


2. วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่ได้จากธรรมชาติ หรือมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ขวดพลาสติก ริบบิ้นลวด เปลือกหอย ก้อนหิน กล่องนม เศษไม้ เศษเหล็ก กล่องกระดาษ เป็นต้น
โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองคาย เขต 1

3. วัสดุหมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่อาศัยและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ วัสดุอาจได้มาจากธรรมชาติและมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น
โดย..จิรวัฒน์ แสงสุรินทร์

วัสดุคือสิ่งที่เรานำมาทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ตามต้องการ ผู้คนในยุคแรกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น หิน ไม้ เส้นใยพืช กระดูกและหนังสัตว์ ต่อมามนุษย์เริ่มเรียนรู้วิธีการสร้างวัสดุใหม่ ๆ ขึ้นมา มนุษย์นำดินมาปั้นเป็นหม้อ และนำไปเผาในอุณหภูมิสูงเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง และยังค้นพบวิธีการนำเหล็ก สัมฤทธิ์ ทองแดง และโลหะชนิดอื่น ๆ มาใช้ แก้วถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันนี้เรามีวัสดุต่าง ๆ ใช้มากกว่าแต่ก่อนรวมถึงพลาสติกหลายหลากชนิด
คุณ ศิริรัตน์ และชุลีพร แปล วรางคณา เรียบเรียง


วัสดุคือ สสารต่าง ๆ ที่มนุษย์นำมาประกอบขึ้นหรือผลิตขึ้นให้เป็น
ผลิตภัณฑ์, เครื่องมือเครื่องใช้, สิ่งประดิษฐ์, สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
อ. สุวันชัย พงษ์สุกิจวัฒน์
(ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ จุฬาฯ)

ความหมายของคำว่า วัสดุและวัสดุศาสตร์

วัสดุศาสตร์ (อังกฤษ: Materials Science) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ ธรณีวิทยา โดยมุ่งความสนใจไปที่คุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุในสภาวะที่เป็นของแข็งอันได้แก่ โครงสร้าง ระดับอะตอมหรือโมเลกุลของวัสดุ คุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ การนำความร้อน คุณสมบัติทางเคมี คุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้า คุณสมบัติที่ยอมให้แสงผ่าน หรือการผสมผสานกันของบางคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้ คุณสมบัติของวัสดุที่สังเกตง่ายและชัดเจนจะแสดงออกมาในรูปของคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ ส่วนความแตกต่างในระดับโครงสร้างโมเลกุลและอะตอมจะต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนในการตรวจสอบ สำหรับการประเมินสมรรถนะของวัสดุจะเป็นพื้นฐานของงานวิศวกรรมที่จะนำวัสดุนั้นๆไปใช้งาน ส่วนวิชาว่าด้วยวัสดุศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการความรู้ทางเทคโนโลยีของวัสดุสี่ส่วนซึ่งแต่ละส่วนจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นรูปสี่มุมสี่ด้าน (Tetrahedron) การนำวิชาการทางด้านวัสดุศาสตร์ไปใช้งานทางด้านวิศวกรรมอย่างกว้างขวางทำให้เกิดนิยามของวิชาการสาขานี้ใหม่เป็น"วัสดุศาสตร์และวิศวกรรม" วัสดุที่คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทำให้เกิดผลิตภัญฑ์ใหม่หรือไม่ก็เกิดอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรสาขาวัสดุศาสตร์คอยดูแลแก้ไขปัญหาและวิจัยวัสดุใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ในอุสาหกรรมนักวัสดุศาสตร์จะมีบทบาทในส่วนของ การออกแบบวัสดุ (materials design) การประเมินค่าใช้จ่ายในการผลิตวัสดุนั้นๆ ดูแลกระบวนการทางเทคนิคซึ่งประกอบด้วย การหล่อ, การม้วน, การเชื่อม, การใส่ประจุ, การเลี้ยงผลึก,การรอกฟิล์ม(thin-film deposition) , การเป่าแก้ว เป็นต้น และเทคนิคการวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน, การเอกซเรย์ เป็นต้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัสดุศาสตร์ (Materials Science) คือ การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานของวัสดุ และการจัดเรียงตัวในระดับอะตอม และสมบัติของวัสดุ ซึ่งความรู้ดังกล่าวนี้ จะนำมาผลิตหรือสร้างเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งหาค่าสมรรถนะในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ความรู้ที่นำมาใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ คือการใช้ความรู้ในหลายๆ แขนงมาร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันวัสดุศาสตร์ได้เข้าไปมีบทบาทอย่างมากมายในเกือบจะทุกผลิตภัณฑ์ ดังนั้น วัสดุศาสตร์จึงยิ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้หลายแขนงวิชา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี วิศวกรรม ชีววิทยา ไฟฟ้า คณิตศาสตร์ หรือ การแพทย์ เข้ามาร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุและสมบัติที่สนใจ
จินตมัย สุวรรณประทีป